ที่มาของข้อมูล: http://www.oknation.net/blog/19/2008/08/01/entry-1
คำเชิญชุมนุมเทวดาทำนองสรรพัชญ ออกเสียงตามอักขรวิธีเป็นภาษามคธ
ตาม ความเชื่อของคนโดยทั่วไปการเชิญชุมนุมเทวดาคือการอัญเชิญเทวดาให้มารวมร่วม กันปกปักรักษาบุคคลและสถานที่นั้น ให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมนั้น
หาก พิจารณาอย่างถี่ถ้านอย่างมีเหตุผล(อย่างเป็นวิทยาศาสตร์)จะเห็นว่า คำเชิญชุมนุมเทวดาเป็นการประกาศให้คนดีที่มีระดับสติปัญญาพอจะสามารถรับธรรม ได้ ให้มาร่วมกันฟังธรรม
สาระสำคัญของบทสวดมนต์เจ็ดตำนานหรือสิบสองตำนานอยู่ที่มงคลสูตรหรือที่เรียกว่ามงคล ๓๘
สุวิริโย
๑ สิงหาคม ๒๕๕๑
เชิญชุมนุมเทวดา (แบบของคณะธรรมยุต)
สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทังฯ
สัค เค กาเม จะ รูปเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุฯ
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
........
คำแปล
เทพดา ในรอบจักรวาลทั้งหลาย จงมาชุมนุมในสถานที่นี้ จงฟังซึ่งพระสัทธรรม อันให้สวรรค์ และนิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีฯ
ขอ เชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี และภุมมเทวดาซึ่งสถิตอยู่ในวิมาน หรือยอดภูเขา และหุบผา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้น ในบ้าน ในต้นพฤกษา และป่าชัฏในเรือนและในไร่นาก็ดี และยักษ์คนธรรพ์นาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบก และในที่อันไม่เรียบราบก็ดี อันอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ คำใดเป็นของท่านมุนีท่านสาธุชนทั้งหลาย จงสดับคำข้าพเจ้านั้นฯ
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม
........
ที่มาของคำเชิญชุมนุมเทวดาและคำแปลจากหนังสือสวดมนต์แปลของมหามกุฏราชวิทยาลัย
ที่มาของภาพ http://www.oknation.net/blog/19/2007/10
ศาสนพิธีที่เกี่ยวข้องกับการเชิญชุมนุมเทวดาบางส่วน
พิธี ฝ่ายภิกษุสงฆ์ เริ่มต้นเมื่อพระสงฆ์รับนิมนต์ไปในงานทำบุญแล้ว ถึงวันกำหนด ถ้าเจ้าภาพกำหนดจะมารับ พึงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลา พอมีคนมารับ ก็ให้ไปได้ทันที ควรไปตามกำหนดให้ถึงที่งานก่อนเวลาพอสมควร อย่าให้ก่อนมากนัก เพราะเกี่ยวด้วยการ เตรียมการของเจ้าภาพอาจยังไม่พร้อมก็ได้ จะเป็นเหตุให้เจ้าภาพ อึดอัดในการที่ยังไม่พร้อม จะรับรอง และอย่าให้กระชั้นเวลาจนเกินไป เพราะจะทำให้เจ้าภาพกระวนกระวาย
การ ไปในงานต้องนุ่มห่มให้เรียบร้อยเป็นสมณสารูป ตามแบบนิยมของวัด ควรมีพัด ไปด้วยทุกรูป และควรใช้พัดงานมงคลไม่ใช่พัดงานศพ พัดงานศพที่ถือเป็นข้อห้ามอย่างจริงจัง นั้นคือ พัดที่มีอักษรปรากฏว่า ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ... ในงานฌาปนกิจศพ... เพราะพัดงานศพใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น ถ้าขัดข้อง เพราะเหตุจำเป็นจริง ๆ อย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะนำพัดไปได้ทุกรูป (สำหรับ พระสงฆ์วัดเดียวกันทั้งหมด) ก็ควรมีไปเฉพาะ หัวหน้ารูปเดียว เพราะพัดที่ต้องนำไปนี้ จำต้องใช้ในคราว
ก. ให้ศีล เฉพาะหัวหน้า
ข. ขัด สคฺเค และขัดตำนาน เฉพาะรูปที่นั่งอันดับที่ ๓
ค. อนุโมทนาท้ายพิธี ต้องใช้ทุกรูป และ
ฆ. ถ้ามีการบังสุกุลอัฐิประกอบด้วย ก็ต้องใช้ทุกรูปเช่นกัน
เรื่องการนำพัดไปในงานทำบุญนี้ บางแห่งถือกันว่า ถ้าพระสงฆ์มีพัดไปในงาน ทุกรูป เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพด้วย
เมื่อ ไปถึงที่งานแล้ว ได้เวลาเจ้าภาพจะนิมนต์เข้าที่ ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะที่เจ้าภาพจัด ปูไว้ ควรพิจารณาเสียก่อน ถ้าเป็นอาสนะผ้าขาวไม่ควรขึ้นเหยียบ หรือทำอาการใด ๆ ให้ฝ่าเท้า ถูกผ้าขาวสกปรกด้วย ควรคุกเข่าบนผ้าขาวเดินเข่าเข้าไปยังที่นั่ง ถ้าไม่ใช่อาสนะผ้าขาว ควรปฏิบัติโดยอาการที่เหมาะสมเรียบร้อยน่าดูเป็นเหมาะที่สุด ให้เข้านั่งกันตามลำดับไว้ ระยะให้พองาม นั่งแบบพับเพียบให้ได้แถวได้แนว ดูเข่าให้เสมอกันและนั่งอย่างผึ่งผาย ไม่ควรนั่งงอหลังหรือเท้าแขน เข้าที่แล้ววางพัดไว้ทางหลังด้านขวามือ
เมื่อ เจ้าภาพเริ่มอาราธนาศีล พระเถระผู้เป็นหัวหน้าพึงคลี่กลุ่ม สายสิญจน์แล้วส่งต่อกัน ไปจนถึงรูปสุดท้าย พออาราธนาศีลถึงวาระที่ ๓ ว่าตติยมฺปิ... ผู้เป็นหัวหน้าพึงตั้งพัดเตรียมให้ศีล การจับพัดให้จับด้วยมือขวาที่ด้ามถัดคอพัดลงมา ๔ - ๕ นิ้ว หรือกะว่าจับตรงส่วนที่สามตอนบน ของด้ามพัด ใช้มือกำด้ามด้วยนิ้วทั้ง ๔ เว้นนิ้วแม่มือ เฉพาะนิ้วแม่มือยกขึ้นแตะด้ามให้ทาบ ตรงขึ้นไปตามด้ามพัดนั้น นำสายสิญจน์ขึ้นพาดไว้บนนิ้วชี้ ตั้งพัดให้ตรงหน้า ปลายด้ามอยู่กึ่งกลาง อย่าให้ห่างตัวหรือชิดตัวมากนัก และอย่าตั้งนอกสายสิญจน์ ดูหน้าพัดให้หันออกข้างนอก ให้พัดตั้ง ตรงได้ฉากเป็นงาม พอจบคำอาราธนาศีลก็ตั้ง นโม ให้ศีลทันที ให้ไปถึงตอนจบไตรสรณคมน์ ไม่ต้องว่า “ติสรณคมนํ นิฏ€ิตํ” เพราะ คำนี้ใช้เฉพาะในพิธี สมาทานศีลจริง ๆ เช่น สมาทาน อุโบสถศีล ในการรับศีลเป็นพิธีอย่างในงานทำบุญนี้ ไม่ต้องว่าพึงให้ศีลต่อไตรสรณคมน์ไปเลย ทีเดียว, พอให้ศีลจบก็วางพัด ถ้าไม่ได้นำพัด ไปทุกรูป ให้ส่งพัดต่อให้รูปที่ ๓ เตรียมขัด สคฺเค
พอ เจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่สาม รูปที่ต้องขัด สคฺเค เตรียมตั้งพัด แบบเดียว กับที่กล่าวแล้ว พออาราธนาจบก็เริ่มขัดได้ พอขัดจบพระสงฆ์ทุกรูปยกสายสิญจน์ขึ้นประนมมือ พร้อมกัน ใช้ง่ามนิ้วแม่มือทั้งสองรับสายสิญจน์ไว้ในระหว่างประนมมือ แล้วหัวหน้านำว่า นโม และนำสวดมนต์บทต่าง ๆ ไปตามแบบนิยม
ที่มาของพิธีฝ่ายสงฆ์ http://www.dhammathai.org/practice/practice2.php
มงคล ๓๘ ประการ
มงคล ที่ ๑ ไม่คบคนพาล
มงคล ที่ ๒ คบบัณฑิต
มงคล ที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา
มงคล ที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคล ที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน
มงคล ที่ ๖ ตั้งตนชอบ
มงคล ที่ ๗ มีความรู้
มงคล ที่ ๘ มีศิลปะ
มงคล ที่ ๙ มีวินัย
มงคล ที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต
มงคล ที่ ๑๑ บำรุงมารดาบิดา
มงคล ที่ ๑๒ การสงเคราะห์บุตร
มงคล ที่ ๑๓ การสงเคราะห์ภรรยา
มงคล ที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง
มงคล ที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน
มงคล ที่ ๑๖ ประพฤติธรรม
มงคล ที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ
มงคล ที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ
มงคล ที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป
มงคล ที่ ๒๐ สำรวมจากการเสพสิ่งมึนเมา
มงคล ที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม
มงคล ที่ ๒๒ มีความเคารพ
มงคล ที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
มงคล ที่ ๒๔ ความสันโดษ
มงคล ที่ ๒๕ มีความกตัญญู
มงคล ที่ ๒๖ ฟังธรรมตามเวลาที่เหมาะสม
มงคล ที่ ๒๗ มีความอดทน
มงคล ที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย
มงคล ที่ ๒๙ เห็นผู้สงบ
มงคล ที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามเวลาที่สมควร
มงคล ที่ ๓๑ พยายามลดละกิเลส
มงคล ที่ ๓๒ ประพฤติอย่างพรหม
มงคล ที่ ๓๓ เห็นความจริงที่ประเสริฐ
มงคล ที่ ๓๔ ดับกิเลสภายในใจ
มงคล ที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคล ที่ ๓๖ จิตไม่โศก
มงคล ที่ ๓๗ จิตไม่มีมลทิน
มงคล ที่ ๓๘ จิตสงบ
ที่มาของมงคล ๓๘ http://forum.serithai.net/index.php?topic=21554.msg262175
No comments:
Post a Comment